Home » , , » ชวนเที่ยวงาน “เทศกาลว่าวไทยและว่าวนานาชาติ”

ชวนเที่ยวงาน “เทศกาลว่าวไทยและว่าวนานาชาติ”


เทศกาลว่าวไทย ที่สนามหลวง ช่วงนี้ใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปเที่ยวไหนดี ในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์นี้ ขอแนะนำว่าไม่ต้องไปไหนไกลครับ ที่สนามหลวงเขามีเทศกาลว่าวไทย และดนตรีไทย จัดโดย การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย " ณ บริเวณท้องสนามหลวง เพื่อเป็นการอนุรักษ์กีฬาของไทย  ภายในงานมีการแสดงว่าวจุฬา-ปักเป้า และว่าวนานาชาติ การเล่นว่าวไทยจากภูมิภาคต่างๆ การแสดงและสาธิตกีฬาพื้นบ้านของไทย การแสดงดนตรีไทย ฯลฯ นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในวันและเวลาดังกล่าว 



สนามหลวง หรือเดิมเรียกว่า "ทุ่งพระเมรุ" ซึ่งเป็นสถานที่ ที่ใช้เล่นว่าวของคนกรุงเทพนั้น เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ เคยเป็นสถานที่ปลูกพระเมรุ และทำพิธีพระเมรุมาศในเวลาถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูง จึงเรียกว่าทุ่งพระเมรุ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงใช้เป็นที่ทำนาเพื่อแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นว่าเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์ และมีการสะสมเสบียง จนถึงขนาดปลูกข้าวมาจนถึงกำแพงวัง ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาหลวง ประกอบพระราชพิธีพืชมงคลและพิรุณศาสตร์ และให้เรียก "ท้องสนามหลวง" แทนชื่อเดิมที่ทรงมีพระราชดำริว่าอัปมงคล
แต่เดิมสนามหลวงมีพื้นที่เพียงซีกด้านใต้ของปัจจุบัน เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพง ป้อมปราการ สถานที่ต่างๆ ส่วนชั้นนอกด้านตะวันออกของพระราชวังบวรลง เพื่อขยายเขตท้องสนามหลวง ภายหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกเพื่อเป็นที่ทำการของกระทรวงธรรมการกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงคมนาคม ภายหลังได้รื้อออกแล้วสร้างโรงละครแห่งชาติแทน ทรงให้ปลูกต้นมะขามโดยรอบ เพื่อให้เกิดความร่มรื่น เหมือนถนนในต่างประเทศ
สนามหลวงถือเป็นที่อเนกประสงค์มาตั้งแต่แรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นที่ประกอบพระราชพิธี และพิธีสำคัญของทางราชการมาทุกรัชกาล เคยเป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ และตลาดนัดวันเสาร์ - อาทิตย์ก่อนที่จะย้ายไปยังสวนจตุจัตร  ในปัจจุบันสนามหลวงเป็นสวนสาธารณะ และที่พักผ่อนหย่อนใจกลางเมืองกรุงเทพ ฯ ส่วนการแข่งว่าว การสรงน้ำพระในวันสงกรานต์ พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ยังคงกระทำอยู่เป็นประจำทุกปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ฝ่ายกิจกรรม กองส่งเสริมกิจกรรม โทร. 0-2250-5500 ต่อ 3969
บอกให้เพื่อนรู้ :

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น